ไวรัส MERS
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุใหม่ 2012 เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรน่า เริ่มมีการค้นพบผู้ป่วยครั้งแรกในเดือนเมษายน 2555 โดยในช่วงแรกยังไม่ทราบว่าผู้ป่วยเหล่านั้นเกิดจากเชื้อใด หลังจากนั้นมีการตรวจยืนยันว่าเป็นการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่มีชื่อเรียกว่า "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012" และในเดือนกันยายน 2555 มีการรายงานพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศแถบตะวันออกกลาง โดยขณะนี้มีรายงานการติดเชื้อจากคนสู่คนในวงจำกัด ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลใกล้ชิด สมาชิกครอบครัวเดียวกัน บุคลากรทางการแพทย์ แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้าง
สถานการณ์
ทั่วโลก : องค์การอนามัยโลกแจ้งพบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2557 รวมทั้งสิ้น 264 ราย เสียชีวิต 93 ราย พบรายงานจากทั้งหมด 16 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมน ตูนีเซีย อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กรีซ อียิปต์ และสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่พบในผู้เดินทางไปแสวงบุญ และบุคลากรทางการแพทย์ ในขณะที่ศูนย์การป้องกันควบคุมโรคยุโรป (European Centre for Disease Prevention and Control) รายงานเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 ว่าพบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 424 ราย เลียชีวิต 131 ราย
ประเทศไทย : ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 จนถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ยังไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทย
อาการของโรค
ผู้ป่วยที่ยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยทั่วไปจะมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจค่อนข้างรุนแรงและเฉียบพลัน มีอาการไข้ ไอ หายใจหอบและหายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยเกือบทุกรายจะมีภาวะปอดบวม นอกจากนี้ในผู้ป่วยอีกจำนวนมากจะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายมีภาวะไตวาย ซึ่งในจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมดจะเสียชีวิต ส่วนในผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือลดน้อยลง การแสดงของโรคอาจมีความแตกต่างออกไป
ระยะฟ้กตัวของโรค
มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 2 -14 วัน
วิธีการแพร่โรค
ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2557 พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น โดยบางรายไม่มีรายงานการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และในบางรายมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ แม้ว่าข้างต้น อฐจะเป็นแหล่งสงสัยหลักที่นำมาสู่การติดเชื้อในมนุษย์ แต่ยังไม่ทราบถึงเส้นทางการติดต่อว่าเกิดจากการสัมผัสทางตรงหรือทางอ้อมอย่างไร ทั้งนี้ยังคงมีการตรวจสอบเพื่อระบุหาแหล่งที่นำมาของการติดเชื้อ ต่อไป
การรักษา
เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีนและยารักษาที่จำเพาะ
การป้องกัน
• สำหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยว
จากข้อมูลที่มีในป้จจุบัน พบว่ากลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวาย หรือผู้ที่ภูมิต้านทานตํ่า ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ หากท่านเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือพื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร หรือในพื้นที่ตลาดที่มีอูฐอยู่ รวมถึงควรหลีกเสี่ยงการสัมผัสอูฐ ควรรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี โดยการล้างมือ และควรหลีกเสี่ยงการดื่มน้ำนมดิบจากอูฐ หรือน้ำนมจากอูฐที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรือกินอาหารที่ไม่สะอาด เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งของสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการล้าง ปอกเปลือก หรือปรุงให้สุก
• สำหรับประชาชนทั่วไป
สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือพื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร ควรรักษาสุขอนามัย ทั่วไป เช่น ล้างมือเป็นประจำ ก่อนและหลังการสัมผัสสัตว์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย และรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย
•สำหรับสถานพยาบาล
เพิ่มมาตรการในการป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยในผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยที่รับการยืนยันการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 ควรมีมาตรการที่เหมาะสมในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไปยังผู้ป่วย คนอื่น หรือบุคลากรทางการแพทย์ หรือญาติ/ผู้เข้าเยี่ยม ผู้ป่วยทุกรายที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการรุนแรง บางรายมีอาการรุนแรงหรือผิดปกติ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรทางการแพทย์ ควรระมัดระวังในการใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้ออย่างเป็นมาตรฐานและต่อเนื่องกับผู้ป่วยทุกรายตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงถึงการวินิจฉัยของโรค
องค์การอนามัยโลก แนะนำให้เพิ่มความตระหนักเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 ในกลุ่มนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค แต่ยังไม่แนะนำให้ตั้งจุดตรวจคัดกรองพิเศษบริเวณทางเข้า-ออกประเทศ และยังไม่แนะนำให้มีการจำกัดการเดินทาง หรือกีดกันทางการค้าแต่อย่างใด
ขอขอบคุณ <สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น