วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

โครงการประชารัฐร่วมใจ สร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคง ปลอดยาเสพติดยั่งยืน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ

โครงการประชารัฐร่วมใจ สร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคง ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน จังหวัดชัยภูมิ (2559-2560)

          ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชัยภูมิ (ศอ.ปส. จ.ชย.) ร่วมกับจังหวัดชัยภูมิ โดยนายชูศักดิ์ ตรีสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้มีนโยบายในการป้องกัน ปราบปราม และบำบัด ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดในจังหวัดชัยภูมิ โดยเน้นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ด้วยแนวทาง 9 ขั้นตอน เน้นบูรณาการทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมปฏิบัติการร่วมกับชุมชน มุ่งให้ชุมชนมีส่วนร่วมและร่วมเป็นเจ้าของปัญหา จัดการปัญหาและสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสติดในชุมชนเองเป็นหลัก          ปี 2559 จังหวัดชัยภูมิ ได้คัดเลือก หมู่บ้าน จำนวน 10 หมู่บ้านนำร่องในเขตอำเภอบำเหน็จณรงค์เป็นหมู่บ้านนำร่องในการดำเนินงานโครงการประชารัฐร่วมใจ สร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคง ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน จังหวัดชัยภูมิ (2559-2560)
          วันที่ 19 เมษายน 2559 นายไพทูรย์ มหาชื่นใจ นายอำเภอบำเหน็จณรงค์ ร่วมกับ ศอ.ปส.จ.ชัยภูมิ จัดอบรม ครู.ข. ชุดปฏิบัติการในตำบล ในพื้นที่หมู่บ้านที่ได้รับคัดเลือกเป็นหมู่บ้านนำร่อง โดยมีนายธนพล จันทรนิมิ ปลัดจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานในการเปิดการอบรม และให้แนวทางในการปฏิบัติงาน โดยเน้นชุมชนคนในหมู่บ้านเองเป็นแกนหลัก มีการสร้างพลังของมวลชนให้มีความตระหนักมองเห็นปัญหาที่แท้จริง จะได้ป้องกับปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านของตนเองได้ โดยให้นำอุปสรรคปัญหาที่ผ่านมาเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดชุมชนปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน


          แนวทาง/กระบวนการดำเนินงาน 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ 1 สืบสภาพชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 พบประแกนนำ/ผู้นำธรรมชาติ
 ขั้นตอนที่ 3 ประกาศวาระหมู่บ้าน
ขั้นตอนที่ 4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์
ขั้นตอนที่ 5 คัดแยกผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ขั้นตอนที่ 6 แนวทางการป้องกันยาเสพติด
ขั้นตอนที่ 7 การรับรองครัวเรือน
ขั้นตอนที่ 8 ใช้มาตรการทางสังคม

ขั้นตอนที่ 9 รักษาสถานะชุมชนเข้มแข็ง
         ปัญหายาเสพติด ปกติทางสาธารณสุขจะมีการจัดค่ายบำบัด ให้ผู้ป่วยที่เสพยาที่เราถือว่าเป็นผู้ป่วย ซึ่งต้องยอมรับว่าได้ผลพอประมาณเพราะยังมีอีกหลายๆคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องหลังออกจากค่าบบำบัดแล้ว แต่ปัญหาที่พบในพื้นที่จริงๆก็คือ ยังมีผู้ค้าในพื้นที่ และผู้เสพก็สามารถหาซื้อมาเสพได้อีก ปัญหาคำถามคือ เราจะจัดการกับผู้ค้าอย่างไรให้หมดไปในพื้นที่ คำตอบหนึ่งก็คือ ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยลำแข้งของตนเอง โดยมีภาครัฐเข้ามาส่งเสริม ป้องปราม ช่วยเหลืออีกทางหนึ่ง....
        ครั้งต่อไป เราจะลงพื้นที่ตามแนวทาง 9 ขั้นตอน แล้วจะมาเล่าให้ฟังอีกครับ...บายๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น